โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)

ไม่มีพ่อ-แม่รายใดที่อยากมีลูกที่ผิดปกติ พิการแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเกิดจากอวัยวะใดก็ตาม ยิ่งเกิดขึ้นกับหัวใจ ยิ่งฟังดูอันตราย และ น่ากลัวมาก อย่างไรก็ตามแม้ว่าการแพทย์จะเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังพบความผิดปกติของหัวใจในทารกได้เสมอ เราเรียก รวมๆกันว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องของธรรรมชาติที่ไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100 % มีขาด มีเกิน ผู้ที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่มนุษย์ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะเอาชนะธรรมชาติ กรณีหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้ก็เช่นกัน ปัจจุบันหลายๆโรคสามารถผ่าตัด หรือ แก้ไข ให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นมากได้

เกิดจากอะไร ?? ปัจจุบันไม่มีคำตอบชัดเจน ทราบแต่ว่าเป็นความผิดปกติในขั้นตอนการสร้างอวัยวะตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา อาจมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส เช่น หัดเยอรมัน หรือ การที่มารดาได้รับยา สารเสพติด หรือ สารเคมีขณะตั้งครรภ์ หรือ ความผิดปกติที่โครโมโซมของเด็กเอง (เช่น กลุ่มอาการดาวน์ Down Syndrome)   แต่ส่วนมากแล้วมักไม่มีสาเหตุ ทำให้เรา ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วนใหญ่ไม่ทราบด้วยซ้ำจนกว่าเด็กจะคลอดออกมา

พบบ่อยแค่ไหน ?? ประมาณว่าเด็กที่เกิดมามีชีวิต (คือไม่นับที่แท้งก่อน หรือ เสียชีวิตทันทีหลังคลอด) จำนวน 1,000 ราย จะมีเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดประมาณ 6-8 ราย และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้แพทย์วินิจฉัยได้จนกว่าจะอายุ 2-3 เดือน แต่ยังโชคดีที่ส่วนน้อยจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน ส่วนใหญ่ยังสามารถรอให้เด็กโตได้

มีกี่ชนิด ?? เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่เด็กตัวเขียว กลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติทำให้มีเลือดดำไหลไปปนกับเลือดแดง ซึ่งปกติแล้ว เลือดดำจะไม่ไหลไปปนกับ เลือดแดง ทำให้เด็กมีสี ออกเขียวๆ ม่วงแดงอ่อนๆ บางรายเห็นชัดเจนเวลาที่เด็กร้อง กลุ่ม นี้มีความผิดปกติได้หลายแบบ และ อาการค่อนข้างมาก เกือบทั้ง หมดต้องผ่าตัดแก้ไข บางรายที่เป็นรุนแรงต้องผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่ แรกคลอด การเจริญเติบโตของ เด็กพวกนี้จะน้อยกว่าปกติมาก เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ มีส่วน น้อยที่สามารถเจริญเติบโต มาเป็นผู้ใหญ่ได้

tof.gif (14760 bytes)

กลุ่มไม่เขียว กลุ่มนี้ก็มีหลายแบบด้วยกัน อาจเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ (พบน้อย) หรือ ผนังกั้นห้องหัวใจปิดไม่สนิท มีรูรั่ว (พบบ่อย) ทำให้เลือดแดงไหลไปปนเลือดดำ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้เกิด "สีเขียว" แต่จะทำให้เลือดไปปอดมากเกินไป และ หัวใจทำงานหนัก มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสียต่อปอดและหัวใจในอนาคต โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ จะอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น อาจแบ่งชนิดที่พบบ่อยๆได้เป็น

ผนังหัวใจห้องบนมีรูรั่ว เรียกว่า Atrial Septal Defect หรือ ASD ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายบน (ซึ่งเป็นเลือดแดง ผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาบน (ซึ่งเป็นเลือดดำ) ผ่านลงมายังหัวใจห้องขวาล่าง และออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลังจากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ   ความ ผิดปกติชนิด ASD นี้ส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาการใดๆ อาจตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ พบว่าเสียงหัวใจผิดปกติ หรือ เอกซเรย์ปอด พบว่าขนาดหัวใจและหลอดเลือดที่ปอดผิดปกติ หากจะมีอาการก็มักจะเริ่มที่อายุประมาณ 30 ปี อาการ คือ เหนื่อยหอบง่ายเวลา ทำงาน อย่างไรก็ตามขึ้นกับขนาดรูของ ASD ด้วย หากรูเล็กแล้วไม่ควรจะมีอาการและไม่น่าจะเกิดปัญหาในระยะยาว ในผู้ป่วย ASD ที่รูโต มีเลือดไปที่ปอดมากเป็นระยะเวลานานๆจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ปอด จะหนาตัวขึ้น และ ตีบมากขึ้น เป็นผลให้ความดันในปอดสูงมากขึ้น จนในที่สุดสามารถดันเลือดดำให้ผ่านรู ASD ไปปนกับเลือดแดง และ เกิดหัวใจ ล้มเหลวตามมาได้ การเปลี่ยนแปลงทางปอดนี้หากเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ การผ่าตัดปิดรู ASD ที่ใหญ่ ตั้งแต่ยังไม่มีอาการจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ปอดได้

ผนังหัวใจห้องล่างมีรูรั่ว เรียกว่า Ventricular Septal Defect หรือ VSD ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายล่าง (ซึ่งเป็น เลือดแดง ผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาล่าง (ซึ่งเป็นเลือดดำ) แล้วออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลัง จากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนและลงมาที่ซ้ายล่างอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ ความ ผิดปกติเช่นนี้แตกต่างจาก ASD เพราะมักจะมีอาการตั้งแต่เด็ก เจริญเติบโตช้า มีอาการของหัวใจล้มเหลว บางรายต้องได้รับ การผ่าตัดตั้งแต่เด็ก โชคดีที่ผู้ป่วยบางส่วนรูสามารถเล็กลงหรือปิดเองเมื่อโตขึ้น แต่หากโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว รู VSD มีขนาด โตและยังไม่ปิด จะก่อให้เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ปอดเสียได้บ่อย จึงสมควรได้รับการผ่าตัดปิดรูรั่ว

asd.gif (13271 bytes)      ASD     vsd.gif (16125 bytes)  VSVSD          pda.gif (13123 bytes)  PDA

มีท่อต่อระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ (Aorta) ่กับหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงปอด (Pulmonary artery) ท่อนี้เรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกันกับ VSD และพบบ่อยมากในเด็กที่ คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผ่าตัดหรือแก้ไขปิดท่อดังกล่าว

อาการ ? ขอเน้นว่าส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ (เนื่องจากในบางวัย อาจตรวจได้ไม่ชัดเจน) หากมีอาการก็จะเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว คือ เหนื่อยหอบง่ายเวลาทำงาน

การรักษา แต่ละชนิดมีการรักษาที่แตกต่างกันไป หากเป็นมากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ในบางโรค เช่น ASD PDA อาจมีวิธีการรักษาโดยใส่อุปกรณ์บางอย่างไปปิดรูรั่ว โดยผ่านเทคนิคการสวนหัวใจ ซึ่งได้ผลดีในเด็ก แต่ก็ไม่ได้ ทำได้ทุกราย หากปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นแล้ว ความดันปอดสูงมากแล้ว ไม่มีการรักษาใดๆที่จะให้กลับมาเป็นปกติได้ ในกรณี เช่นนั้น การรักษาที่ดีที่สุด (ในโลกปัจจุบัน) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดไปพร้อมๆกัน ซึ่งทำได้แต่ยาก และ ไม่ค่อยมีผู้ยอม บริจาคนัก แม้จะผ่าตัดแล้วก็ยังต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต...

หากสงสัย ไม่แน่ใจ กรุณาตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์ (ผู้ป่วยเด็ก) หรือ อายุรแพทย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ หากมีความจำเป็นอาจจะได้รับการตรวจดูหัวใจละเอียดด้วยอัลตราซาวน์หรือที่เรียกว่า Echocardiogram ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดของความผิดปกติได้ดี

home_sm_blk.gif (1765 bytes)

Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)